มะเร็งเต้านม (Breast cancer) |
|
มะเร็งเต้านม Breast cancer เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทยรองจากมะเร็งปากมดลูกอุบัติการณ์ที่พบเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ผลการรักษาดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรก การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือโดยการถ่ายภาพรังสี หรือที่เรียกว่าแมมโมแกรมมีความหมายในการค้นหาโรคระยะแรกก่อนที่จะมีการแพร่กระจายลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น ๆ |
|
สาเหตุ สาเหตุของมะเร็งเต้านม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง และฮอร์โมนเพศหญิง |
|
ลักษณะของโรค เริ่มด้วยการมีก้อนเล็ก ๆที่เต้านม มักไม่มีอาการเจ็บปวด บวม หรืออักเสบ ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อมาอาจคลำพบก้อน เต้านมมีรูปร่างผิดปกติ ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะหยาบและขรุขระ มีการ ดึงรั้งของหัวนม ในบางรายเมื่อบีบหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึม |
|
ใครที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย, หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก, ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุ มากกว่า 30 ปี, มีแม่ พี่น้อง หรือลูก เป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ปี, การใช้ยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุน้อยและใช้ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน, การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือน จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติเล็กน้อย ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน ควรจะรับการตรวจเอกซเรย์เต้านม หรือที่เรียกว่าการทำแมมโมแกรมทุกปี
|
|
การวินิจฉัยโรค มีวิธีการต่างๆ มากมายเพื่อช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม การเอ็กซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรม และการตรวจอัลตร้าซาวน์ (การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง) มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยและการรักษา โดยเฉพาะก้อนที่มีขนาดเล็ก คลำไม่ได้ หรืออยู่ลึกในเนื้อเต้านมคลำได้ไม่ชัดเจน |
|
การรักษา การรักษามะเร็งเต้านมเป็นการรักษาผสมผสานกันระหว่างการผ่าตัด การฉายรังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายทำให้ผลการรักษาดีผู้ป่วยมีอายุยืนยาว แพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องเลือกวิธีการและลำดับการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด รักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดรักษาที่ใช้ในทางปฏิบัติมี 2 วิธี คือ |
|
2. การตัดเต้านมออกโดยวิธีมาตรฐาน คือ การตัดเนื้อเต้านมทั้งหมดร่วมกับเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก แพทย์จะผ่าตัดด้วยวิธีนี้ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่าวิธีแรก การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก |
|
วิธีการป้องกัน เนื่องจากการดำเนินของโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม โดยรอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ |
|
ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จุดมุ่งหมายของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ก็เพื่อที่จะสามารถตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรักษา ทำให้อัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้น และการกลับเป็นใหม่ของโรคลดลง |
|
การตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นทำได้ดังนี้ | |
1. การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธีเดือนละครั้ง การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ควรตรวจภายใน 7-10 วัน ของรอบเดือน โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือน หรือ ทุกเดือนหลังจากหมดประจำ เดือนแล้ว การตรวจเต้านมอย่างถูกวิธี จะช่วยให้พบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มแรกได้ โดยมี้นตอนการตรวจ ดังนี้ |
|
ขั้นที่ 1 การตรวจในขณะอาบน้ำ ขณะอาบน้ำผิวหนังจะเปียกและลื่น ช่วยให้ตรวจได้ง่ายขึ้นโดยใช้ฝ่ามือนิวมือคลำ และเคลื่อนในลักษณะคลึงเบา ๆ ให้ทั่ว ทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหา ก้อนหรือเนื้อที่แข็งเป็นไต หลังอาบน้ำเสร็จแล้วจึงทำการตรวจขึ้นต่อไป |
|
ขั้นที่ 2 การตรวจหน้ากระจก ก. ยืนตรงมือแนบลำตัวให้สังเกตุเต้านมทั้งสองข้างต่อไปยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะเต้านมว่ามีการดึงรั้งของผิวหนังบริเวณเต้านมส่วนใด หรือระดับเต้านมเท่ากันหรือไม่ ข. ยกมือเท้าสะเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิดการเกร็ง และหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตุว่ามีรอยนูนหรือบุ๋มที่ผิวหนังของเต้านมหรือไม่ |
|
ขั้นที่ 3 การตรวจในท่านอน นอน หงายใช้หมอนใบเล็ก ๆ หนุนใต้สะบักข้างที่จะตรวจให้อกเด่นขึ้น และยกมือไว้ไต้ศีรษะ แล้วใช้ฝ่านิ้วมืออีกข้างหนึ่ง คลำให้ทั่ว ๆ ทุกส่วน ของเต้านมใช้มือซ้ายตรวจเต้านมด้านขวาใช้มือขวาตรวจเต้านมด้านซ้ายในลักษณะ เดียวกัน |
|
การตรวจเต้านมแต่ละข้าง ให้เริ่มต้นที่บริเวณเต้านมด้านรักแร้ (จุด x ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านมแล้วเคลื่อนมือขยับมาเป็นวงแคบ จนถึง บริเวณหัวนม พยายามคลำให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม ตอนสุดท้ายให้กดรอบ ๆ หัวนม หรือบีบ หัวนมเบา ๆ ทั้งสองข้าง เพื่อสังเกตุดูว่ามีน้ำเลือด น้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ ออกจากหัวนมหรือไม่ |
|
2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้ชำนาญ ปีละครั้ง ตั้งแต่ 3. การตรวจเอกซเรย์เต้านม หรือที่เรียกว่าแมมโมแกรม ปีละครั้งตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป |
Produce by Medical Service Department
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966 โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029
ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th